Skip to main content

หน้าหลัก

สรุปผลการประชุม สุดยอดเวทีโลกว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 14

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปการประชุม

สรุปผลการประชุม สุดยอดเวทีโลกว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 14

(14th Global Forum on Migration and Development : GFMD) ดังน้ี

1. ภูมิหลัง ความเป็นมา

1.1.1 Global Forum on Migration and Development : GFMD คือแพลตฟอร์ม เพื่อการหารือทางสังคมโลกในประเด็นการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการพัฒนา ที่มีแนวคิดริเริ่มมาจาก นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ที่มีแนวคิดในการสร้างเวทีโลกเพื่อการปรึกษาหารือในเรื่อง การโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนา (Global Forum on Migration and Development) ได้ถูกเสนอขึ้น ในการประชุมระดับสูงเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนา ครั้งที่ 1 (First High-Level Dialogue on International Migration and Development) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2549 ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยมีประเทศสมาชิกของสหประชาชาติมากกว่า 140 ประเทศเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนา ซึ่งเป็น ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและมีความสําคัญเพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการโยกย้ายถิ่นฐานเพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ยังคงมีข้อจํากัดทางข้อมูลและข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งโครงสร้าง และทรัพยากรที่เหมาะสมในการนําไปปฏิบัติจริงในหลายประเทศ และยังไม่มีเวทีโลกใดที่รวบรวมผู้กําหนด นโยบายด้านการโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนา ในขณะที่บางประเทศโดยภาครัฐและหน่วยงานระหว่าง ประเทศอยู่ระหว่างการทดลองใช้แนวปฏิบัติที่ดี แต่แนวปฏิบัติเหล่านี้ยังคงต้องมีการสร้างความเข้าใจ และปรับใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ข้อเท็จจริงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงข้อจํากัดของการดําเนินการแบบประเทศเดี่ยวในการดําเนินงานระดับโลก สหประชาชาติได้เห็น ความสําคัญจึงได้สนับสนุนให้มีการหารือเกี่ยวกับประเด็นการโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนา ในรูปแบบที่ ไม่เป็นทางการ เพื่อจะนําไปสู่ผลลัพธ์และความร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม ตั้งอยู่บนหลักการ และนําไปปฏิบัติได้จริง รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ใช่ภาครัฐอีกด้วย

การประชุมสุดยอด GFMD ได้เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2550 GFMD เป็นกระบวนการ ที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีพันธกรณีและเกิดจากความสมัครใจของรัฐบาล โดยรวมรวมผู้เชี่ยวชาญจาก ทุกภูมิภาคและทุกประเทศที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง GFMD ได้ดําเนินการบนพื้นฐานของวิธีการทํางานอย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ซึ่งรวบรวมรัฐบาลและผู้กําหนด นโยบายจากหลากหลายสาขาเข้ามาร่วมด้วย ได้แก่ กระทรวงและกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านกิจการ การตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม หน่วยงานด้านการพัฒนา และรับผิดชอบประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ ที่เกี่ยวข้องทั้งคนในชาติ และต่างประเทศ และไม่ได้จํากัดเฉพาะหน่วยงานของรัฐเท่านั้น GFMD ยังมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นทางการ กับกรอบอื่นๆ ของ GFMD เช่น กลไกทางสังคมและพลเมือง กลไกทางธุรกิจ กลไกของผู้นําท้องถิ่น และเยาวชน การเชื่อมโยงเหล่านี้ได้ช่วยระดมความเห็นและความเชี่ยวชาญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่หลากหลาย ทั้งจากวงการวิชาการ องค์กร NGOs สหภาพแรงงาน ภาคเอกชน ตัวแทนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน และชุมชนชาวต่างชาติ รัฐบาลท้องถิ่นและภูมิภาค ตลอดจนการมีส่วนร่วมของเยาวชน ในการหารือในเวทขี อง GFMD

วัตถุประสงค์ของ GFMD

1. เพื่อให้ผู้กําหนดนโยบายและนักปฏิบัติงานระดับสูง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ รวมถึงองค์กรเอกชน ผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรการโยกย้ายถิ่นฐาน มีเวทีอย่างไม่เป็นทางการในการอภิปราย นโยบายที่เกี่ยวข้อง ความท้าทายในทางปฏิบัติ และโอกาสของการเชื่อมโยงระหว่างการย้ายถิ่นฐานและ การพัฒนาในเชิงนโยบาย เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและนําไปสู่การปฏิบัติ ทั้งในระดับ ประเทศ ระดับทวิภาคี และระดับพหุภาคี

2. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีซึ่งสามารถปฏิบัติตามหรือปรับ ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์อื่นได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของการโยกย้ายถิ่นต่อการพัฒนา

3. เพื่อระบุช่องว่างของข้อมูล นโยบาย และองค์กรที่จําเป็น เพื่อความเป็นเอกภาพ ทางนโยบายให้มากขึ้นในระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ของทั้ง 2 นโยบายหลักคือการโยกย้าย ถิ่นฐานและการพัฒนา

4. เพื่อสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ และความร่วมมือระหว่าง ประเทศกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในประเด็นการโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนา

5. เพื่อกําหนดบรรทัดฐานและวาระระหว่างประเทศด้านการโยกย้ายถิ่นฐาน

และการพัฒนา

1.1.2 ในการประชุมสุดยอดฯ ครั้งที่ 14 นี้ สาธารณรัฐฝรั่งเศสในฐานะประธาน Global Forum on Migration and Development (GFMD) ค.ศ. ๒๐๒๓ ได้มีหนังสือเชิญผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมสุดยอด GFMD ครั้งที่ ๑๔ ณ International Conference Centre นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส รูปแบบการประชุมฯ ประกอบด้วยการประชุมและกิจกรรม อาทิ พิธีเปิดการประชุมฯ การอภิปรายเรื่องวัฒนธรรมและแนวทางการเล่าเรื่องเล่าต่างๆ (Panel on culture and narratives) คู่ขนานกับการอภิปรายระดับสูงเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานอันเป็นผลจากสภาพอากาศ ( High level panel on climate mobility) การหารือโต๊ะกลม (Summit Roundtables) ในหัวข้อที่ฝรั่งเศสในฐานะ ประธานเป็นผู้กําหนด กิจกรรมคู่ขนาน (Side Events) ตลอดการประชุม และการอภิปราย Future of the Forum

1.1.3 กิจกรรมหลักของการประชุมคือช่วงการหารือโต๊ะกลม โดยที่ประชุมเน้นการ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน NGOs และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายในหัวข้อที่กําหนดไว้อย่างกว้างขวางและมีส่วนร่วมอย่างเปิดกว้าง จากผู้เข้าร่วม ประชุมจากทุกภาคส่วน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ถ่ายทอดประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงความ เชื่อมโยงระหว่างประเด็นการอพยพที่เกี่ยวกับการพัฒนาตามหัวข้อนั้นๆ เพื่อหาแนวทางเพื่อการพัฒนา ในอนาคตอย่างยั่งยืนร่วมกัน โดยมีหัวข้อการหารอื โต๊ะกลม (Summit Roundtables) จํานวน 6 หัวข้อ คือ

1. การหารือโต๊ะกลมในหัวข้อที่ ๑ เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศต่อการเคลื่อนย้ายของมนุษย์ : การป้องกัน การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการพัฒนา (The impact of climate change on human mobility: preventive action, humanitarian action and

development)

2. การหารือโต๊ะกลมในหัวข้อที่ 2 เรื่องสิทธิกับการโยกย้ายถิ่นฐาน : การดําเนินการเพื่อประกันการเข้าถึงสาธารณสุข ความปลอดภัย และสิทธิของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน

(Rights and migration : working to ensure the health, safety, and rights of migrants)
3. การหารือโต๊ะกลมในหัวข้อที่ ๓ เรื่อง กลุ่มคนโพ้นทะเล : ผู้เล่นทางการ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาค (Diasporas: actors of economic, social and

cultural development of regions)
4. การหารือโต๊ะกลมในหัวข้อที่ ๔ เรื่อง การโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงาน:

การส่งเสริมให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ (Labour migration: promoting the economic inclusion of migrants)

5. การหารือโต๊ะกลมในหัวข้อที่ ๕ เรื่อง การส่งเสริมมุมมองที่ดี ของสาธารณชนต่อการโยกย้ายถิ่นฐานผ่านแนวทางการเล่าเรื่อง วัฒนธรรม ความรู้สึก และวาทกรรม ที่มีเหตุผล (Improvingtheperceptionofmigrationinpublicopinionthroughnarratives,

culture, emotion and rational discourse)
6 การหารือโต๊ะกลมในหัวข้อที่ 6 เรื่อง ความร่วมมือระหว่างรัฐในหลาย

ระดับ : การส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมกันปรับปรุงการบริหารจัดการการโยกย้ายถิ่น ฐานให้ดียิ่งขึ้น (Multi-level governance: bringing together the various stakeholders for improved migration management)

2. ประเด็นที่ที่ประชุมให้ความสําคัญ ดังนี้
2.1 ความเชื่อมโยงกันระหว่างการการโยกย้ายถิ่นฐานกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศ โดยเน้นย้ำว่าภัยพิบัติที่มีความรุนแรง เป็นตัวผลักดันให้เกิดการอพยพและการโยกย้ายถิ่น และ การโยกย้ายถิ่นฐานเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการปรับตัวต่อความเปราะบางที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยเน้นย้ําความจําเป็นของเส้นทางการโยกย้ายถิ่นฐานที่ต้องปลอดภัย เป็นระเบียบและปกติ

2.2 การแก้ไขปัญหาความเปราะบางของประชากรที่ได้รับผลกระทบให้สอดคล้อง กับกรอบการทํางานระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement กรอบการดําเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบและปกติ (Global Compact for Safe, Orderly, and Regular Migration: GCM)

2.3 ความสําคัญและความจําเป็นในการมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับขนาด ระยะเวลา และความรุนแรงของการเคลื่อนย้ายประชากรในปัจจุบันเมื่อเกิดภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม

2.4 การให้ความสําคัญในความเข้าใจผลกระทบของการย้ายถิ่นต่อการพัฒนา และเส้นทางของประเทศที่ได้รับผลกระทบ ตลอดจนแบบแผนการเคลื่อนย้ายของมนุษย์ในอนาคตในบริบท ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2.5 ความสําคัญของทรัพยากรทางการเงินในการตอบสนองต่อขนาด และความเร่งด่วนของความต้องการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ที่จําเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียน ที่มีความยืดหยุ่น ต่อเนื่อง และครอบคลุมมุมมองของผู้โยกย้ายถิ่นฐานในทุกระดับ

2.6 ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสําคัญกับความท้าทายและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการโยกย้ายถิ่นฐาน รวมถึงการพิจารณาด้านนโยบายและการ ดําเนินการที่จําเป็นเพื่อแก้ไขประเด็นที่ซับซ้อนเหล่านี้

2.7 การโยกย้ายถิ่นฐานของแรงงาน (Labour Migration) เป็นแนวโน้มหลักของ การโยกย้ายถิ่นฐานในปัจจุบัน ซึ่งมีความสําคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการโยกย้ายถิ่นฐานจึงจําเป็นต้อง

มีการกํากับดูแลการโยกย้ายถิ่นฐานแรงงานบนพื้นฐานสิทธิ มีความโปร่งใส ครอบคลุมทุกเพศ และพัฒนา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

2.8 การเกิดโรคระบาดโควิด – 19 สะท้อนให้เห็นบทบาทสําคัญของแรงงานข้าม ชาติและช่องว่างในการกํากับดูแลแรงงานเหล่านี้ ทําให้เกิดการขาดแคลนแรงงานและส่งผลกระทบ ต่อสิทธิของแรงงานและระบบเศรษฐกิจส่งผลต่อการพัฒนา ในช่วงวิกฤติของโรคระบาด ความท้าทาย ต่อเนื่อง เช่น เส้นทางการโยกย้ายถิ่นฐานปกติที่จํากัด ช่องว่างของงานที่มีคุณค่าและการคุ้มครองสิทธิ ของแรงงานข้ามชาติ ช่องว่างของแรงงานเพศหญิง เด็ก และกลุ่มเปราะบาง รวมถึงข้อจํากัดของข้อมูล และการเปิดกว้างของเวทีเจรจาต่อรองทางสังคมให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

2.9 ความท้าทายในอนาคต ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผลกระทบจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่อการพัฒนาทักษะของแรงงาน การทํางานรูปแบบใหม่ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทําให้ประเทศต่างๆ ตื่นตัว และกําลังดําเนินมาตรการเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้ เช่น การพัฒนานโยบายและแผนปฏิบัติ การระดับชาติว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ การพัฒนาทักษะแรงงาน การทําข้อตกลงด้านแรงงานแบบทวิภาคี การขยายความคุ้มครองทางสังคม การทําความตกลงเรื่องการคุ้มครองทางสังคม การทําข้อตกลงด้านการ ประกันสังคมระหว่างประเทศ (SSA) การส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืนของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออํานวยความสะดวกในกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมให้มีการหารือ ระดับภูมิภาคและการทํางานร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศ เช่น ASEAN, AU, IGAD เพื่อให้เกิดฉันทามติ และมีการผลักดันในทางการเมืองในประเด็นการโยกย้ายแรงงาน

2.10 ผลักดันการลดช่องว่างในการพัฒนาบุคลากรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ งานที่มีทักษะด้านสิ่งแวดล้อม (Green Talent) ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นทางภูมิศาสตร์ เพศ ยุคสมัยของ กลุ่มคนในช่วงอายุต่างๆ และระดับการศึกษา ทุกภาคส่วนต้องสนับสนุนการลงทุนในทักษะที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมโดยนายจ้าง รัฐบาล และแรงงานทั่วโลก ให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวนั้นมีความ เป็นธรรมเพื่อทุกคน และไม่ทําให้ใครถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง

2.11 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย รวมถึงภาคเอกชน สหภาพ แรงงาน องค์กรภาคประชาสังคม และรัฐบาลท้องถิ่น มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อความสําเร็จในการกํากับดูแล แรงงานข้ามชาติ ตัวอย่างความร่วมมือ เช่น โครงการ PROMISE ของ IOM ที่ประเทศไทย เป็นต้นแบบในการส่งเสริมเส้นทางการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปกติ

2.12 การส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทและผลกระทบ เชิงบวกของแรงงานข้ามชาติ จะช่วยสร้างความเข้าใจอันถูกต้องเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติและนโยบาย การโยกย้ายถิ่นฐานบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน

3 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ในประเด็นด้านแรงงาน มีดังนี้
3.1 แรงงานผู้โยกย้ายถิ่นฐานจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปกติในทุก

ขั้นตอนของการโยกย้ายถิ่นฐาน ตั้งแต่การพิจารณาหางานในต่างประเทศ การคัดเลือกบริษัทจัดหางาน การ ตัดสินใจต่อข้อเสนอของสัญญาจ้างงาน การเตรียมการทํางานในต่างประเทศ การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อน ร่วมงานต่างชาติ การเข้าใจถึงสภาพการทํางานและความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การดูแลครอบครัว จนถึงการเตรียมการเดินทางกลับประเทศและการคืนสู่สังคมในประเทศต้นทาง

2.2 การเพิ่มความร่วมมือในเรื่องการพัฒนาทักษะแรงงานให้กับผู้โยกย้าย ถิ่นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมจากประเทศต้นทาง เพื่อให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงโอกาสในการ พัฒนาทักษะและสามารถปรับตัวให้เข้าถึงโอกาสการจ้างงานและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยน ผ่านในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม Green Economy และโรคระบาด จะเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤต ต่างๆ แรงงานข้ามชาติยังคงมีบทบาทสําคัญในการช่วยปรับตัวและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

3.3 ควรสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการพัฒนาทักษะฝีมือ แรงงานในประเทศต้นทางกับนายจ้างในประเทศปลายทาง จากความร่วมมือนี้จะทําให้นายจ้างสามารถ เลือกแรงงานที่มีความสามารถจากโรงเรียนและสถาบันฝึกอบรมต่างๆ ที่ได้มาตรฐานซึ่งถือเป็นกลไกที่ดีใน การสนับสนุนให้มีการสรรหาแรงงานข้ามชาติที่มีทักษะสอดคล้องกับงาน เพิ่มทางเลือกให้กับแรงงาน และ เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่สูงขึ้น

3.4 การสนับสนุนการจับคู่งานของแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม นายจ้างควร ให้ความสําคัญกับทักษะแรงงานในกระบวนการสรรหาแรงงานและการจ้างงาน โดยไม่คํานึงถึงเพศ เพศ สภาพ สัญชาติ อายุ และเชื้อชาติ เพื่อก้าวข้ามการเหมารวมทางเพศสภาพและก่อให้เกิดการจับคู่ทักษะงาน ที่มีประสิทธิภาพในกระบวนการสรรหาแรงงานและกระบวนการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม

3.5 การส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการของแรงงานข้ามชาติ ลูกจ้างที่มีทักษะเฉพาะ หลากหลาย และมีความสามารถรอบด้าน จะทําให้ธุรกิจมีโอกาสอยู่รอดจากวิกฤต ซึ่งจะช่วยให้นายจ้าง สามารถรักษาประสิทธิภาพในการผลิตที่มีเสถียรภาพเอาไว้ได้ ซึ่งมีความสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 แรงงานข้ามชาติเผชิญการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเวลาทํางานและการ ลดลงของค่าจ้าง ผลที่ตามมาคือแรงงานข้ามชาติมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นในทุกมิติ รัฐบาลควรสร้างความ มั่นใจว่าลูกจ้างทุกคนจะมีสิทธิได้รับการคุ้มครองผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การเปลี่ยนตําแหน่งงานให้เหมาะสม กับสถานการณ์และทักษะ การปรับปรุงรูปแบบการทํางานให้มีความเหมาะสม บนพื้นฐานการคุ้มครองสิทธิ แรงงาน

3.6 ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาครัฐและภาคเอกชน รัฐบาลควรมีบทบาทที่สําคัญในการจัดการพัฒนาทักษะให้แก่ลูกจ้างทุกคน และมีการสนับสนุนนายจ้าง เช่น การสนับสนุนทางการเงิน การลดหย่อนภาษี การแบ่งปันทรัพยากรต่างๆ เพื่อลดต้นทุนในการพัฒนาทักษะ และทําให้การพัฒนาทักษะแรงงานมีความเป็นไปได้ มีการแบ่งปันข้อมูลและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมใน หลักสูตรการพัฒนาทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง เกิดการแบ่งปันทรัพยากร ระหว่างองค์การและหน่วยงานต่างๆ ลดต้นทุนการพัฒนาทักษะ มีหลักสูตรฝึกอบรมที่มีคุณภาพ และข้อตกลงร่วมกันในการรับรองทักษะ เป็นต้น รวมทั้งเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาคส่วนต่างๆ เช่น ภาควิชาการ เยาวชน รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลไกสําคัญที่อยู่ภายใต้กรอบ GFMD

3.7 การสร้างการรับรู้ในเรื่องการพัฒนาของแรงงานข้ามชาติและการโยกย้ายถิ่น ฐานและการพัฒนา ทั้งสนับสนุนการพัฒนาประเทศของตนผ่านการส่งเงินกลับประเทศ และช่วยอํานวย ความสะดวกในการถ่ายทอดทักษะและการสร้างธุรกิจ รวมถึงเครือข่ายการค้าในประเทศปลายทาง แรงงาน ข้ามชาติช่วยเติมเต็มปัญหาที่สําคัญจากการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของประชากร สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงด้านแนวโน้มของตลาดแรงงานและข้อมูลประชากร แรงงานข้ามชาติยังมีส่วนช่วย ในช่วงเวลาฉุกเฉินและวิกฤต เช่น การขาดแคลนแรงงานในช่วงการแพร่ระบาดของของโรคไวรัสโควิด-19 (COVID-19)

3.8 การพัฒนาระบบดิจิทัลในกระบวนการและการเข้าถึงบริการของผู้โยกย้าย จะต้องมีการบูรณาการฐานข้อมูลของแรงงานข้ามชาติให้เป็นรูปแบบดิจิทัลผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การรักษาพยาบาล การศึกษา โดยมีฐานข้อมูล ของแรงงานต่างชาติที่ครอบคลุมทุกกลุ่มแรงงานในทุกมิติ

3.9 การปฏิรูปการกํากับดูแลกระบวนการโยกย้ายถิ่นฐานโดยเฉพาะเรื่องการ โยกย้ายแรงงานโดยต้องคํานึงถึงสิทธิแรงงานและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ฝ่ายแรงงานฯ เจนีวา มกราคม 2567

TOP