Skip to main content

หน้าหลัก

สรุปรายงานผลการประชุมคณะประศาสน์การขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ ๓๑๒ (The 312nd Session of ILO Governing Body) ประจำวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมคณะประศาสน์การ สำนักงานใหญ่ ILO ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

๑.การประชุมกลุ่มรัฐบาลภูมิภาค  เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Government Group-ASPAG)

 

– นาย Steve Marshall ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ( Committee of Inquiry- COI ) กรณีประเทศพม่าละเมิดอนุสัญญา ILO ได้บรรยายสรุปให้ที่ประชุม ASPAG ถึงความคืบหน้าในความร่วม มือของประเทศพม่า ว่า ในขณะนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในพม่าหลายอย่าง เช่น กระทรวงการวาง แผนและกระทรวงการคลังมีการจัดสรรงบประมาณให้กับกองกำลังทหารในภูมิภาค การกระจายอำนาจ ให้กับภูมิภาค การออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การเกณฑ์ทหาร ทำให้กองกำลังทหารในภูมิภาคไม่ ต้องเกณฑ์ประชนชนและเด็กมาเป็นทหารด้วยตนเองอย่างในอดีต การปลดปล่อยนักโทษจำนวนมาก ออกจากที่คุมขัง อย่างไรก็ตาม ประเทศพม่าได้ขับเคลื่อนประเทศด้วย “คำสั่ง” มาเป็นเวลานาน เมื่อใด ก็ตามที่มีคำสั่งออกมา ก็จะได้รับการปฏิบัติตามในทันทีโดยไม่มีการตั้งคำถาม ซึ่งการสั่งการต่อๆกันไป เมื่อถึงปลายทาง การถ่ายทอกคำสั่งอาจจะทำให้เกิดการผิดเพี้ยนบิดเบือนไปจากเจตนารมณ์เดิมของ คำสั่งดังกล่าว การออกเป็นกฎหมายช่วยให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติได้ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมาย จำนวนมากที่ไม่ได้รับการปฏิบัติ เนื่องจากทั้งทางฝ่ายข้าราชการและประชาชนจำนวนมากไม่ได้รับรู้ รับทราบการออกกฎหมายและเนื้อหาของกฎหมายดังกล่าว และยังเคยชินกับการมีผู้สั่งการมากกว่าที่จะ ดำเนินการไปตามกลไกของกฎหมาย

– มีคำถามว่า ในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้นหลายอย่างในประเทศพม่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ จะมีการยกเลิกการวาระการประชุมในลักษณะการประณามต่อประเทศพม่าในเวที ILO โดยประธาน COI อาจจะหารือกับกลุ่มนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประสานงานกลุ่มประเทศในภูมิภาคต่างๆ                     นาย Marshall ตอบว่า ได้ไปบรรยายสรุปให้ทุกฝ่ายดังกล่าวทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่เกิด ขึ้นในประเทศพม่าดังกล่าวแล้ว แต่คำตอบคือ คงจะยังไม่ยกเลิกมาตรการดังกล่าว เนื่องจากหลายฝ่ายยัง ไม่มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะยั่งยืนเพียงใด และยังมีการร้องเรียนคดีต่างๆเพิ่มมาอยู่โดยตลอด ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่าด้านแรงงาน แต่ก็ยังมีบางส่วนที่เป็นเรื่อง ของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ( worst form of child labour ) และประเทศพม่าเอง ก็ไม่ใช่จะให้ความร่วมมืออย่างสมบูรณ์

 

 

๒. กลุ่มเรื่องแผนงาน การเงินและการบริหาร (Programme, Financial and Administrative Section)

 

หัวข้อแผนงาน การเงิน และการบริหาร 
การใช้งบประมาณบัญชีแผนงานพิเศษของปีงบประมาณ ๒๕๕๔ 
– ได้จัดสรรไว้จำนวน ๑๘.๕๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้มีการใช้จ่ายไปทั้งสิ้น ๑๔.๔ ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ งบประมาณคงเหลือทั้งสิ้น ๔.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การใช้จ่ายประกอบด้วย

 

(๑) การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อมติจากการประชุมประจำปี ครั้งที่ ๑๐๐ ในส่วนของ การประกันสังคม ๖๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ
(๒) การติดตามผลการดำเนินงานจากข้อมติการประชุมประจำปี เกี่ยวกับการบริหารแรงงาน และการตรวจแรงงาน ๕๕๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
(๓) การติดตามผลจากข้อมติของการประชุมประจำปี เกี่ยวกับความพยายามในการสร้างงาน ที่มีคุณค่า (Decent Works) เพื่อแรงงานทำงานบ้าน ๖๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ
(๔) การพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ด้านการจ้างงาน ๖๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ
(๕) การจ้างงานและการลงทุน : ระเบียบวิธีในการประเมินผล ๕๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ
(๖) การรวบรวมผลสำเร็จของการปฏิบัติเกี่ยวกับ การเพิ่มผลผลิต ค่าจ้าง และการเจรจา ต่อรองร่วม ๔๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ
(๗) งานที่มีคุณค่าสำหรับเยาวชน ๘๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ

มติที่ประชุม
คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติให้อำนาจผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศในการใช้เงินคงเหลือ ๔.๒ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามแผนการติดตามประเมินผลข้อมติของที่ประชุม ILC ครั้งที่ ๑๐๐ และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศสมาชิกต่อไป

หัวข้อการกำกับตรวจสอบ
๑. การรายงานการประเมินผลงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔ 
– เป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การประเมินผลการดำเนินงานของ ILO ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘ ตามที่คณะประศาสน์การกำหนดในการอภิปรายเรื่องการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดระดับผลกระทบ (outcomes)  ประกอบด้วย
(๑) การปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของ ILO
(๒) การประเมินผลการเชื่อมโยงการทำงานของสำนักงานต่างๆเพื่อสนับสนุนในมิติของความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ
(๓) การประเมินสมรรถนะที่ได้ปรับปรุงขยายขอบเขตการทำงานโดยการสนับสนุนด้านความรู้ ทักษะ และเครื่องมือในการทำงาน

 

– ระเบียบวิธีการที่ใช้ในการประเมินผลและประสิทธิภาพของ ILO โดยใช้การจัดการโดยคำนึงถึงผล สัมฤทธิ์ (RBM) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ILO การจัดทำกรอบการประเมินประสิทธิภาพ การดำเนินงานของ ILO การทำตารางแสดงจุดอ่อนจุดแข็ง (SWOT) การกำหนดข้อจำกัดและประเมิน ความเสี่ยง การพัฒนาการตรวจสอบและการประเมินระบบ ฯลฯ 
– จากการอภิปรายของผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลบางส่วน ถึงแม้จะยอมรับการประเมิน แต่ยังมีข้อสังเกตถึงความโปร่งใสของการประเมิน และการรายงานที่ยังไม่ชัดเจนมากนัก

มติที่ประชุม
คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติรับทราบ

 

๒. การทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำปรึกษาองค์กร ในภาพรวม

 

– เป็นการดำเนินงานตามข้อมติของที่ประชุมคณะประศาสน์การ ILO สมัยประชุมที่ ๓๐๐ (เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑) ให้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำปรึกษาองค์กร ในภาพรวม โดยมีวาระการทำงาน ๔ ปี ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ แต่งตั้งขึ้นเพื่อทดลอง ปฏิบัติงานกำลังครบวาระ สำนักงาน ILO จึงขอมติจากที่ประชุมให้ต่ออายุคณะกรรมการดังกล่าว ออกไปอีก ๔ ปี ทั้งนี้ ILO ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเอกชน Pricewaterhousecooper ศึกษาความจำเป็น ในการมีคณะกรรมการชุดดังกล่าวหรือไม่ และควรจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ว่า ILO ควรจะมีคณะกรรมการถาวรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดูแลการทำงานในภาพรวมขององค์กร และให้ รายงานตรงต่อคณะประศาสน์การ ทั้งนี้แนะนำให้ปรับปรุงองค์ประกอบและวิธีการสรรหาบุคลากรที่ โปร่งใสและมีความเป็นอิสระมากกว่าคณะกรรมการชุดทดลอง โดยพิจารณาใช้กระบวนการสรรหา ที่เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรสหประชาชาติ ตลอดจนการปรับปรุง TOR ในการจ้างบุคลากรให้มี ความเป็นสากลตามระบบสหประชาชาติมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ILO เสนอวิธีการสรรหาบุคลากร และร่าง TOR ให้คณะประศาสน์การพิจารณาในคราวประชุมที่ ๓๑๔ เป็นอย่างช้า

มติที่ประชุม
คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติรับทราบ

 

 

๓. การประเมินระดับสูง : ยุทธศาสตร์และแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่า

 

– เป็นการรายงานผลการศึกษาบทเรียนและข้อเสนอแนะจากการประเมินผลระดับสูง ๓ ครั้งที่ ILO จัดขึ้น โดยครอบคลุมยุทธศาสตร์ของ ILO เรื่อง ๑. การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้าง งานและการประกอบอาชีพ ๒. เอชไอวี/เอดส์และโลกแห่งการทำงาน และ ๓. สนับสนุนวาระงานที่มี คุณค่าบาฮายในประเทศบราซิล

 

– สำนักงาน ILO เสนอ ๔ เรื่องที่มีความสำคัญ คือ ๑. ส่งเสริมตราสารของ ILO รวมทั้งการรับรอง อนุสัญญาหลัก ๒ ฉบับเกี่ยวกับความเสมอภาค (ฉบับที่ ๑๐๐ และ ๑๑๑) ๒. การพัฒนาและการแบ่ง ปันความรู้เกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานการประกอบอาชีพ ๓. การพัฒนาศักยภาพ ของไตรภาคีในการสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักการว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานในการเลือกปฏิบัติในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ๔. เพิ่มพลังของหุ้นส่วนการทำงานระดับระหว่างประเทศ กับผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องความเสมอภาค

 

 

มติที่ประชุม
คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติเห็นชอบลำดับความสำคัญของงานตามที่เสนอสำหรับการ ทำงานในช่วง ๔ ปีต่อไป และนำข้อเสนอเหล่านี้ไปประกอบการจัดทำเอกสารในการอภิปราย เรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานในการประชุมใหญ่ ILO สมัยที่ ๑๐๑

ไฟล์แนบ:

ชื่อไฟล์DSC07628.jpg

ขนาด : 1415.87 kb
วันที่สร้าง : November 25, 2554

8868
TOP