Skip to main content

หน้าหลัก

สรุปรายงานผลการประชุมคณะประศาสน์การขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ ๓๑๒ (The 312nd Session of ILO Governing Body) ประจำวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมคณะประศาสน์การ สำนักงานใหญ่ ILO ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

สรุปรายงานผลการประชุมคณะประศาสน์การขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยที่ ๓๑๒  (The 312nd Session of ILO Governing Body) ประจำวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมคณะประศาสน์การ สำนักงานใหญ่ ILO  ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

กลุ่มเรื่องระดับสูง (High Level Section)

 

หัวข้อนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Policy Segment)

๑. ความกลมกลืนในระบบพหุภาคี

 

– เป็นการกำหนดกรอบการทำงานของ ILO เพื่อส่งเสริมการเจรจาเกี่ยวกับนโยบายการประสานงาน และความกลมกลืนที่จำเป็นต่อระบบพหุภาคีเพื่อเพิ่มโอกาสของงานที่มีคุณค่าในเศรษฐกิจโลกที่พึ่งพากัน ที่ซึ่งการฟื้นตัวจากวิกฤตโลกยังคงเปราะบางและแตกต่างกัน

 

– เป้าหมายของ ILO ในการบรรลุวาระงานที่มีคุณค่าและการมีงานทำอย่างเต็มที่และมีผลิตภาพได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศต่างๆ และหลายเวทีการประชุม และเรียกร้องให้มีการดำเนินงานที่  กลมกลืนกันของทั้งนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และโลก

 

– จุดเริ่มต้นมาจากการประชุมคณะประศาสน์การเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ คณะทำงานว่าด้วยมิติทางสังคมของโลกาภิวัตน์ได้อภิปรายกันเกี่ยวกับเรื่องความกลมกลืนของนโยบาย เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนโดยการประชุมครั้งนั้นเห็นว่าน่าจะได้มีการพิจารณาเรื่องนี้โดยบรรจุลงในกรอบการทำงานนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ในช่วงเวลาที่เหลือจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๘

 

– ต่อมาได้มีการอภิปรายโดยพิจารณาถึงการตอบสนองต่อข้อตกลงเรื่องงานของโลก (Global Jobs Pact)ค.ศ. ๒๐๐๙ และปฏิญญาว่าด้วยมิติทางสังคมเพื่อโลกาภิวัตน์ที่เป็นธรรม ค.ศ. ๒๐๐๘ ที่ผลักดันให้ ILO ร่วมสัญญาในเรื่องใหม่ๆ ระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นตัวของการสร้างงาน การเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบ การเติบโตและการพัฒนาของโลกที่ยั่งยืนแบบใหม่ซึ่งต้องมีความกลมกลืนกัน เห็นได้จาก ILO ได้ลงนามร่วมมือกับ OECD, G20, ECOSOC เป็นต้น

– เป้าหมายของความกลมกลืนของนโยบาย คือ เพื่อพัฒนาและเพิ่มความเข้มแข็งของนโยบายเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่ความ ยุติธรรมทางสังคมโดยผ่านวาระงานที่มีคุณค่าทั้งในประเทศและโลก นอกจากนี้ยังช่วยต่อต้านวิกฤต และช่วยให้ฟื้นตัวจากวิกฤตได้ด้วย

 

ข้อเสนอของสำนักงาน ILO

 

– เสนอว่า การส่งเสริมการมีงานทำเต็มที่และมีผลิตภาพ และงานที่มีคุณค่าควรเป็นไปตามขั้นตอน ๔ ขั้นของความกลมกลืนของนโยบาย คือ (๑) ความสอดคล้องของหลักนิยมซึ่งกันและกัน (๒) การยอมรับซึ่งกันและกัน (๓) การส่งเสริมอย่างจริงจัง และ (๔) การแก้ปัญหาร่วมกัน

 

– ILO มี ๕ ช่องทางหลักเพื่อส่งเสริมความกลมกลืนของนโยบายในระบบพหุภาคี คือ (๑) ความร่วมมือกับ องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ในการนำเสนอข้อมูลและประเด็นการอภิปราย การลงมติ และการติดตาม ผล อาทิ ร่วมกับ WTO (๒) การมีหุ้นส่วนทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบพหุภาคี โดยใช้โอกาสในการ เชิญระหว่างกันเข้าประชุม (๓) การประสานงานระดับประเทศเพื่อสนับสนุน ILO ใน UN Country Team เพื่อบูรณาการแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าในกรอบงานการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (UN Development Assistance Framework) (๔) ความพยายามของประเทศสมาชิกในการดำเนิน การตามปฏิญญาว่าด้วยความยุติธรรมทางสังคมเพื่อโลกาภิวัตน์ที่เป็นธรรม และ (๕) ให้ความช่วยเหลือ เมื่อประเทศสมาชิกร้องขอเมื่อประสงค์จะส่งเสริม วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับของ ILO ทั้งในข้อตกลงพหุภาคีและทวิภาคี

 

– ในการใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อการเจรจาและหุ้นส่วนการทำงาน ILO ต้อง (๑) ทำการศึกษาเชิงลึกว่า เสาหลักของงานที่มีคุณค่าจะสัมพันธ์อย่างไรบ้างกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การค้า และสิ่งแวดล้อม  โดยการเจรจากับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่เป็นหุ้นส่วนการทำงาน (๒) คงการทำงานของคณะทำงานว่าด้วยมิติทางสังคมของโลกาภิวัตน์ของคณะประศาสน์การต่อไป โดยเชิญ ให้ผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายด้วย (๓) เริ่มการเจรจากับองค์กร ระหว่างประเทศที่เป็นหุ้นส่วนทำงานที่ได้คัดเลือกไว้โดยหารือกันเกี่ยวกับแนวทางต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างความกลมกลืนในระบบพหุภาคี เช่น การติตดามผลการดำเนินการตารมมติที่ประชุมร่วม ILO/IMF ที่ออสโล และการติดตามขอบเขตของการกำหนดการสังเกตการณ์ระหว่างกันกับ WTO

 

มติที่ประชุม
คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติให้ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศดำเนินการที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงข้อเสนอข้างต้น และรายงานความก้าวหน้าให้ทราบเป็นระยะในการประชุมครั้งต่อไป

คณะทำงานว่าด้วยมิติทางสังคมของโลกาภิวัตน์ (Working Party on the Social Dimension of Gloabalization)

 

๑. การเปลี่ยนแปลงที่เลวลง? พัฒนาการล่าสุดและสภาพปัจจุบันของการมีงานทำและมิติทางสังคมของโลกาภิวัตน์

 

– เป็นการพยากรณ์ครั้งล่าสุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการมีงานทำ เนื่องจากภาวะฟื้นตัวอย่าง เปราะบางของเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีแรกของปี ๒๕๕๔ ได้นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่

 

– สภาพเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน คาดดว่าจะเป็นไปอย่างช้าในช่วงครึ่งปีหลังของปี ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๕ โดยประเทศพัฒนาแล้วจะพบปัญหามากกว่าประเทศกำลังพัฒนา การเติบโตจะต่ำลงมากและมีความ เสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเพิ่มอีกเท่าตัว เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาก็จะต้องได้รับผล กระทบตามไปด้วย สิ่งที่กังวลกันคือเขตใช้เงินยูโรอ่อนแอกว่าสหรัฐฯ เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ได้รับผลเสียตามมาจากหายนะแผ่นดินไหวและสึนามิ

 

– การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วสั่นคลอนจากอุปสงค์เอกชนของครัวเรือนและวิสาหกิจ ที่ไม่ได้รับความสนใจในการฟื้นฟูจากการขยายนโยบายการเงินในช่วงปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ กลายเป็นจุดอ่อน ในหลายประเทศในปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ ความเชื่อในของผู้บริโภคและธุรกิจต่ำมาก รายได้ครัวเรือนต่ำ ว่างงานสูง ภาคธนาคารให้สินเชื่อยากและเข้มงวดกับธุรกิจขนาดเล็ก ในเขตที่ใช้เงินยูโรอาจต้องพบ ปัญหาหนี้สินที่จะทำให้ระบบธนาคารระหว่างประเทศล่ม ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อการเกิดวิกฤตเช่น เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๑ ขึ้นมาอีก ภาวะถดถอยของครัวเรือนและระบบธนาคารจากภาวะฟองสบู่ แตกของราคาทรัพย์สินในสหรัฐฯ เป็นตัวฉุดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและระหว่างประเทศ

 

– การไร้เสถียรภาพและความเปราะบางทางการเงินในเศรษฐกิจพัฒนาแล้วมีบทบาทสำคัญที่ทำให้การ ฟื้นตัวล่าช้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะถดถอยอีกเท่าตัว   

 

– กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ทำนายว่าหากยังแก้ไขไม่ได้การเติบโตของโลกในปี ๒๕๕๕ เป็นร้อยละ ๓ จะต่ำกว่าที่เคยทำนายไว้ที่ร้อยละ ๔

 

– ภาวะเศรษฐกิจพัฒนาแล้วจะกระทบต่อโลกกำลังพัฒนา ศูนย์กลางทางการเงินหลักๆ จะอยู่ในวงจรของ ธุรกิจ มีผลต่อการไหลของเงินทุนในตลาด การชะลอตัวของการค้าจะส่งผลให้เกิดช่องว่างและจะเป็นภัย คุกคามต่อเสถียรภาพและการเติบโตของประเทศกำลังพัฒนา

 

– หลายๆ ประเทศมีปัญหาหนี้รัฐบาล และภาะขาดดุล ภาวะหนี้สาธารณะสัมพันธ์กับภาวะว่างงานสูงเพิ่มขึ้น และมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน ประเทศส่วนใหญ่เก็บภาษีได้น้อยลง มีรายจ่ายมากขึ้น การเติบโตต่ำในประเทศพัฒนาแล้วทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาไม่สมดุลทางการเงินได้ ขณะที่ตลาดการ เงินจะมีความเสี่ยงมากขึ้น

 

– การจะหลุดพ้นจากสถานการณ์นี้ได้ ต้องร่วมมือกันของเขตที่ใช้เงินยูโร รัฐบาลสหภาพยุโรป G20 สถาบันพหุภาคีระหว่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่ง IMF ที่ต้องดำเนินการร่วมกับองค์กรอื่น อาทิ ILO

 

– ในอนาคตโลกจะมีปัญหาตำแหน่งงานไม่เพียงพอกับกำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้น OECD วิเคราะห์แนวโน้มว่าในช่วง ๕ ปีข้างหน้า หลายประเทศจะต้องพยายามสร้างงานให้เพียงพอ การมีงานทำของประเทศ G20 ในปี ๒๕๕๒ มีราว ๒ พันล้านคน เท่ากับร้อยละ ๖๓ ของการมีงานทำโลก การมีงานทำของประชากรวัยกำลังแรงงาน (๑๕ ปีขึ้นไป) เท่ากับร้อยละ ๖๔.๖ ของช่วงก่อนวิกฤต อัตราการเติบโตของการมีงานทำ (ยกเว้นอินเดีย) ที่ร้อยละ ๑ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓ ประเทศ G20 สร้างงานได้น้อยกว่างานที่ต้องการเพื่อรักษาระดับสัดส่วนคงที่ที่ ๑๙ ล้านตำแหน่งงานในระดับ ก่อนวิกฤต

 

– จำเป็นต้องให้การเติบโตของการมีงานทำปีละอย่างน้อยร้อยละ ๑.๓ เพื่อกลับไปสู่สัดส่วนการมีงานทำ ของช่วงก่อนวิกฤตให้ได้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งหมายถึงต้องสร้างงานเพิ่มให้ได้ ๒๑ ล้านตำแหน่งต่อปี 
 
– การเติบโตของการมีงานทำต่ำนำไปสู่ภาวะว่างงานและการเอาคนงานออกจากกำลังแรงงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อการมีงานทำของเยาวชน ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๒ จำนวนเยาวชนว่างงานเพิ่มถึง ๔.๕ ล้านคนทั่วโลก

 

– การกล่าวถ้อยแถลงของ Mr. Laszlo Andor กรรมาธิการสหภาพยุโรปด้านการมีงานทำ กิจการสังคมและการบูรณาการ โดยเน้นเกี่ยวกับก้าวต่อไปของสภาพยุโรปเพื่อการเติบโต และการดำเนินการของสหภาพยุโรปภายใต้ยุทธศาสตร์ ค.ศ. ๒๐๒๐  มีใจความดังนี้

 

– การเป็นหุ้นส่วนกันของ ILO และคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญต่อการ พัฒนาของมิติของนโยบายการมีงานทำและสังคม เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งที่ต้องมีความเข้าในสาเหตุรากเหง้า และกลไกที่เน้นย้ำภาวะวิกฤต อาทิ ความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้น และบทบาทของการกำหนดค่าจ้าง          Mr. Andor เน้นว่าองค์กรระหว่างประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างดียิ่งขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งด้านความ คุ้มครองทางสังคมซึ่งจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้หากขาดความร่วมมือและความกลมกลืนในระดับพหุภาคี

 

– Mr. Andor ยินดีต่อผลการประชุมสุดยอดที่เมืองคานส์ของกลุ่มประเทศ G20 ที่รับรองข้อเสนอ แนะที่เห็นพ้องกันโดยรัฐมนตรีแรงงานและการมีงานทำของ G20 เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๔

 

– สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของสหภาพยุโรปนั้น สหภาพยุโรปกำลังประสบภาวะยากลำบาก มีปัญหาการมีงานทำ และการเติบโตของ GDP ชะลอตัว งบประมาณรัฐตึงตัว ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์ ถึงสาเหตุของวิกฤตและหนทางที่จะรับมือ และต้องประเมินนโยบาย ซึ่งการประชุมในวันนี้ ถือเป็นโอกาส ดีที่จะได้ทราบมุมมองระดับโลกต่อวิกฤตและหนทางสู่การฟื้นฟู

 

– ทั้งนี้สนับสนุนวาระงานที่มีคุณค่า โดยย้ำว่าต้องมีความร่วมมือกันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของงานที่มีคุณค่า เช่นเรื่องการมีงานทำของเยาวชน
 

 

มติที่ประชุม
คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติรับทราบ

ไฟล์แนบ:

ชื่อไฟล์DSC07621.jpg

ขนาด : 1438.78 kb
วันที่สร้าง : November 29, 2554

8445
TOP