Skip to main content

หน้าหลัก

บทบาทของผู้นำ ILO ในเวทีการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจและการเงินที่สหรัฐอเมริกา

         การประชุมประจำปี 2556 ของกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group :WBG1) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2556 ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา2 เป็นอีกหนึ่งการประชุมที่นาย Guy Ryder ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)ได้นำเสนอแนวคิดผ่านถ้อยแถลงไปยังผู้นำทางเศรษฐกิจและการเงินซึ่งเป็นผู้คุมทิศทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลกว่า ในสภาวะที่การพัฒนาเศรษฐกิจโลกยังอ่อนแอ ประชากรจำนวนกว่า 200 ล้านคนยังคงว่างงาน อีกไม่น้อยกว่า 870 ล้านคนทั้งชายและหญิงมีรายได้ไม่พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัว ทุกฝ่ายควรหันมาให้ความสนใจต่อนโยบายการสร้างงานให้เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคต้องควบคู่ไปกับนโยบายการจ้างงานและนโยบายด้านสังคม ความพยายามยกระดับรายได้ของกำลังแรงงานระดับล่างให้ขึ้นมาเป็นผู้มีรายได้ปานกลาง “middle class” จะช่วยเพิ่มอำนาจการซื้อของประชากรกลุ่มนี้ซึ่งยังมีจำนวนมากมายในระบบเศรษฐกิจโลก ความสำเร็จของการยกระดับรายได้นอกจากเป็นการกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจพัฒนาและฟื้นตัวเร็วขึ้น ยังช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจนซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของกลุ่มธนาคารโลกที่ตั้งเป้าว่าจะลดจำนวนผู้ยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจนให้หมดภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ปี 2560  (ค.ศ.2017) จำนวนกำลังแรงงานที่มีรายได้ขึ้นไปอยู่ในระดับปานกลางจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 และผู้ที่มีระดับรายได้ต่ำกว่า 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ประมาณ 124 บาทต่อวัน) จะลดลงจากร้อยละ 92 ตั้งแต่ปี 2534 (ค.ศ. 1991) เป็นร้อยละ 48  ทั้งนี้ ความสำคัญของนโยบายด้านแรงงานได้รับการยอมรับมากขึ้นในเวทีการหารือด้านเศรษฐกิจเพราะการที่กำลังแรงงานมีงานทำ มีรายได้ มีสภาพการทำงานที่ดีและเหมาะสม  เป็นรากฐานของการพัฒนาที่ต่อเนื่องครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางที่หลายฝ่ายปรารถนา 

 
ฝ่ายแรงงาน คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ นครเจนีวา
16 ตุลาคม 2556
 
The World Bank Group (WBG) เป็นกลุ่มองค์การระหว่างประเทศ 5 แห่ง คือ International Bank for Reconstruction and Development (IBRD) , International Finance Corporation (IFC) , International Development Association (IDA),  International Centre for Settlement of Investment Disputes (ICSID) , Multilateral Investment Guarantee Agency (MIGA) ที่ให้เงินกู้แก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความยากจน  เป็นกลุ่มธนาคารเพื่อการพัฒนาที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดของโลก  โดยปกติ คำว่า “ธนาคารโลก” จะหมายถึง IBRD กับ  IDA เท่านั้น
การประชุมประจำปีของกลุ่มธนาคารโลก เป็นการประชุมระหว่างนักการธนาคาร รัฐมนตรีด้านการเงินและด้านการพัฒนา ผู้บริหารภาคเอกชน และนักวิชาการ เพื่อร่วมกันหารือประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลก การขจัดความยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจและการพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการประชุมประจำปี 2556 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2556 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
 
The Annual Meetings of the World Bank Group (WBG) and the International Monetary Fund (IMF) each year bring together central bankers, ministers of finance and development, private sector executives, and academics to discuss issues of global concern, including the world economic outlook, poverty eradication, economic development, and aid effectiveness. Also featured are seminars, regional briefings, press conferences, and many other events focused on the global economy, international development, and the world’s financial system. This year’s Annual Meetings events will take place in Washington, D.C., October 11-13, 2013. – See more at:http://www.imf.org/external/am/2013/index.htm#sthash.zVnZM9tY.dpuf
 
 
The World Bank Group (WBG) is a family of fiveinternational organizations that make leveraged loans to poor countries. It is the largest and most famous development bank in the world and is an observer at theUnited Nations Development Group.[2] The bank is based in Washington, D.C. and provided around $30 billion in loans and assistance to “developing” and transition countries in 2012.[3] The bank’s mission is to reduce poverty.[4]
·         the International Bank for Reconstruction and Development(IBRD), established in 1945, which provides debt financing on the basis of sovereign guarantees;
·         the International Finance Corporation (IFC), established in 1956, which provides various forms of financing without sovereign guarantees, primarily to the private sector;
·         the International Development Association (IDA), established in 1960, which provides concessional financing (interest-free loans or grants), usually with sovereign guarantees;
·         the International Centre for Settlement of Investment Disputes (ICSID), established in 1966, which works with governments to reduce investment risk;
·         the Multilateral Investment Guarantee Agency (MIGA), established in 1988, which provides insurance against certain types of risk, including political risk, aw primarily to the private sector.

8454
TOP