กรอบภารกิจของฝ่ายแรงงาน คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา |
ฝ่ายแรงงานฯ ตั้งขึ้นเพื่อ | ติดตามงานด้านแรงงาน ในกรอบองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) |
ฝ่ายแรงงานฯ ตั้งขึ้นเมื่อ | ปี 2542 |
โครงสร้าง | ฝ่ายแรงงานฯ เป็นส่วนหนึ่ง ของคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา |
เป้าหมาย | ปกป้องรักษาผลประโยชน์ ของประเทศไทยในกรอบ ILO |
หน้าที่หลัก | |
เข้าร่วมประชุมหรือสังเกตการณ์ การประชุมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในการประชุมใหญ่ ในคณะประศาสน์การและในคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การแรงงานและสวัสดิการแรงงาน รวมทั้งในคณะกรรมการขององค์การหรือ หน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงหรือที่ผู้บังคับบัญชา มอบหมายตามที่เห็นสมควร | |
ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งองค์การ หรือ หน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับการแรงงานและสวัสดิการแรงงาน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน | |
ศึกษา ติดตาม วิเคราะห์และรายงาน เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ระเบียบ บทบาทและพัฒนาการ ความเคลื่อนไหวขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งขององค์การ หรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวโยงกับการแรงงานและสวัสดิการแรงงาน | |
ประสานความร่วมมือและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับเจ้าหน้าที่คณะผู้แทนถาวรของประเทศในกลุ่มเอเชีย และแปซิฟิกโดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน เพื่อปกป้องรักษา ผลประโยชน์ของประเทศ |
บทบาทหน้าที่หลักของคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา |
|
ภาพรวม | คณะผู้แทนถาวรไทยฯ (คผถ.) ณ นครเจนีวา เป็นหนึ่งในสำนักงานสำคัญของไทยที่รับผิดชอบ งานพหุภาคี |
นครเจนีวาเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศ 36 องค์กร ที่ดูแลประเด็นระดับโลก เช่น สิทธิ มนุษยชน สาธารณสุข ทรัพย์สินทางปัญญา เศรษฐกิจและการพัฒนา มนุษยธรรม สันติภาพ และความมั่นคง | |
Permanent Mission of Thailand |
คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวามีบทบาทสำคัญในการรักษา ผลประโยชน์ของประเทศไทยในเวทีโลก ผ่านการทำงานร่วมกับองค์การระหว่าง ประเทศต่างๆ ในประเด็นสำคัญต่างๆ บทบาทเชิงรุกและมีส่วนร่วมในการเจรจาในกรอบขององค์การระหว่างประเทศต่างๆเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของไทย |
บทบาทสำคัญ |
|
|
Download เอกสาร :
ภารกิจ และ อำนาจหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงาน